FeaturedFeatured111

ดวงดาวกับโหราศาสตร์ไทย

ความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวกับโหราศาสตร์ไทย ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจระบบสุริยะก่อน ระบบสุริยะคือมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางและมีดวงดาวอื่นๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยระยะเวลาในการโคจรครบ 1 รอบหรือ 360 องศาจะมากน้อยแตกต่างกันไป ตามความห่างไกลจากดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ระยะใกล้สุดไปไกลสุดจะเรียงลำดับตามนี้ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ดวงดีดอทคอม | ระบบสุริยะ
ระบบสุริยะ Solar System

ระบบสุริยะ Solar System คือระบบดาวซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง

ดวงอาทิตย์ Sun

ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง มีดวงดาวอื่นๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 8 ดวงในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน


ดวงอาทิตย์ คือดาวฤกษ์ เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดโดยประมาณ 332,830 เท่าของมวลโลก ด้วยมวลที่มีอยู่มากทำให้ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นสูงมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสได้อย่างต่อเนื่อง และปลดปล่อยพลังงานแสงแผ่ออกไป

นอกเหนือจากแสง ดวงอาทิตย์ยังแผ่รังสีพลาสมา ที่รู้จักกันในนาม ลมสุริยะ โดยแผ่ออกไปด้วยความเร็วประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศเฮลิโอสเฟียร์ ที่แผ่ปกคลุมทั่วระบบสุริยะ

สนามแม่เหล็กโลกช่วยป้องกันชั้นบรรยากาศจากลมสุริยะ การปะทะกันระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ หรือที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ออโรรา(Aurora) ที่พบเห็นได้บริเวณใกล้ขั้วโลก

รังสีคอสมิกกำเนิดมาจากห้วงอวกาศอื่น โดยเฮลิโอสเฟียร์ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะและสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ช่วยทำหน้าที่ป้องกันรังสีด้วย

ดวงอาทิตย์
พระอาทิตย์ จุดศูนย์กลางระบบสุริยะ

ดาวพุธ Mercury

ดาวพุธ

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดโดยมีขนาดเท่ากับ 0.055 เท่าของโลก และดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด 87.969 วัน

ดาวพุธมีแก่นดาวที่ประกอบด้วยโลหะประมาณ 70% อีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เพียงเล็กน้อย

ดาวพุธมีระดับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากการหมุนรอบตัวเอง และการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนาน 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ

ดาวพุธ มีชื่อภาษาละตินว่า เมอร์คิวรี Mercury เมอร์คิวรี Mercury มาจากคำเต็ม Mercurius คือ เทพผู้สื่อสารตามคติศาสนาโรมัน เทียบเท่ากับเฮอร์มีสในศาสนากรีกโบราณ และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า merchant (พ่อค้า) หรือ commerce(การค้า)

ดวงศุกร์ Venus

ดาวศุกร์ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Venus เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน

ดาวศุกร์จะสว่างเป็นอันดับสองรองจากดวงจันทร์ ถ้าเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า “ดาวประกายพรึก” ถ้าเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า “ดาวประจำเมือง”

ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเองช้ามาก โดยโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243 วันของโลกช้าที่สุดในระบบสุริยะ

นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทิศตรงกันข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์และดาวพุธไม่มีบริวารธรรมชาติเช่นเดียวกัน

ดาวศุกร์ Venus

โลก Earth

โลก Earth

โลก ภาษาอังกฤษ คือ Earth ดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ โลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปีจากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่น ดาวโลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของดาวโลก

โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 150 ล้านกิโลเมตรในทุก ๆ 365.2564 วัน ความเร็วของโลกในวงโคจรโดยเฉลี่ยประมาณ 29.8 กิโลเมตรต่อวินาที โลกหมุนรอบตัวเองตามแกนครบหนึ่งรอบใช้เวลาเฉลี่ยราว 24 ชั่วโมง

แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงของมหาสมุทร

ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นจำนวนมาก

ดวงจันทร์ Moon

ดวงจันทร์ ชื่อภาษาอังกฤษ Moon สัญลักษณ์ดวงจันทร์คือ ☾ เป็นดาวบริวารที่โคจรรอบโลกของเรา และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร

เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร หรือประมาณ1/4ของโลก มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก

คาบไซโนดิก (synodic period) คือระยะเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ๆ ใช้ในการโคจรจนมาอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเทียบกับมุมมองจากดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ 29.5 วัน

จันทรุปราคา เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เรียงตัวในแนวเดียวกันตามลำดับ ทำให้เงาของโลก บดบังแสงอาทิตย์ที่จะส่องไปยังดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์ค่อยๆหายไปทั้งหมดเรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง หรือหายไปบางส่วนเรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน ก่อนจะกลับมาปรากฏใหม่อีกครั้ง

ดวงจันทร์ Moon – บริวารโลก

ดาวอังคาร Mars

ดาวอังคาร Mars

ดาวอังคาร ชื่อภาษาอังกฤษ Mars ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมันเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองรองจากดาวพุธในระบบสุริยะ

ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของโลก มักได้รับขนานนามว่า “ดาวแดง” เพราะมีออกไซด์ของเหล็กบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดง และเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง

ดาวอังคารห่างจากดวงอาทิตย์ด้วยระยะทางเฉลี่ย 230 ล้านกิโลเมตรโดยประมาณ และโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็น 687 วันของโลก ดาวอังคารหมุนรอบตัวเองเท่ากับ 24 ชั่วโมง 39 นาที 35.244 วินาที หนึ่งปีของดาวอังคารเท่ากับ 1.8809 ปีของโลก

ดาวอังคารมีความเอียงของแกนเท่ากับ 25.19 องศา เป็นผลให้ดาวอังคารมีฤดูกาลคล้ายโลก

ดาวพฤหัสบดี Jupiter

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก

ดาวพฤหัสบดี ภาษาอังกฤษ คือ Jupiter มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์

ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและหมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดในระบบสุริยะ การหมุนเร็วทำให้มีรูปร่างแป้น มีชั้นเมฆห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี จุดแดงใหญ่ บนดาวพฤหัสบดีเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก แล้วเป็นจุดเด่นของดาวพฤหัสบดี

พระอาทิตย์ จุดศูนย์กลางระบบสุริยะ

ดาวเสาร์ Saturn

ดาวเสาร์ Saturn เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 นับจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าประมาณเก้าเท่าของโลก มีมวลมากกว่าโลกถึง 95 เท่า แต่มีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก

ดาวเสาร์ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Saturn ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄)แทนเคียวของเทพเจ้า

ดาวยูเรนัส Uranus

ดาวยูเรนัส Uranus เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 7 นับจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ ดาวยูเรนัสมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามรองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์

ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแกนที่เอียงมากถึง 97.77 องศา ในขณะที่แกนโลกเอียง 23.5 องศา และดาวอังคารก็มีแกนเอียงใกล้เคียงกับโลกคือ 24

องศาดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากแก๊สมีเทนดูดกลืนแสงสีแดงและสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา

ดาวยูเรนัสหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 17 ชั่วโมง 14 นาที และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 84 ปี


พระอาทิตย์ จุดศูนย์กลางระบบสุริยะ

อ้างอิง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *