ดวงดาวกับโหราศาสตร์ไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวกับโหราศาสตร์ไทย ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจระบบสุริยะก่อน ระบบสุริยะคือมีดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลางและมีดวงดาวอื่นๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยระยะเวลาในการโคจรครบ 1 รอบหรือ 360 องศาจะมากน้อยแตกต่างกันไป ตามความห่างไกลจากดวงอาทิตย์
ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง ระยะใกล้สุดไปไกลสุดจะเรียงลำดับตามนี้ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน

ระบบสุริยะ Solar System คือระบบดาวซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่นที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง
ดวงอาทิตย์ Sun
ดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง มีดวงดาวอื่นๆโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ 8 ดวงในระบบสุริยะโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
ดวงอาทิตย์ คือดาวฤกษ์ เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ มีขนาดโดยประมาณ 332,830 เท่าของมวลโลก ด้วยมวลที่มีอยู่มากทำให้ดวงอาทิตย์มีความหนาแน่นสูงมากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยาการหลอมนิวเคลียสได้อย่างต่อเนื่อง และปลดปล่อยพลังงานแสงแผ่ออกไป
นอกเหนือจากแสง ดวงอาทิตย์ยังแผ่รังสีพลาสมา ที่รู้จักกันในนาม ลมสุริยะ โดยแผ่ออกไปด้วยความเร็วประมาณ 1.5 ล้านกิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดชั้นบรรยากาศเฮลิโอสเฟียร์ ที่แผ่ปกคลุมทั่วระบบสุริยะ
สนามแม่เหล็กโลกช่วยป้องกันชั้นบรรยากาศจากลมสุริยะ การปะทะกันระหว่างลมสุริยะกับสนามแม่เหล็กโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ หรือที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ออโรรา(Aurora) ที่พบเห็นได้บริเวณใกล้ขั้วโลก
รังสีคอสมิกกำเนิดมาจากห้วงอวกาศอื่น โดยเฮลิโอสเฟียร์ทำหน้าที่ปกป้องระบบสุริยะและสนามแม่เหล็กของดาวเคราะห์ช่วยทำหน้าที่ป้องกันรังสีด้วย
ดาวพุธ Mercury

ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวที่มีขนาดเล็กที่สุดโดยมีขนาดเท่ากับ 0.055 เท่าของโลก และดาวพุธมีมวลเพียง 5.5% ของมวลโลก โคจรรอบดวงอาทิตย์เร็วที่สุด 87.969 วัน
ดาวพุธมีแก่นดาวที่ประกอบด้วยโลหะประมาณ 70% อีก 30% เป็นซิลิเกต ความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าความหนาแน่นของโลกอยู่เพียงเล็กน้อย
ดาวพุธมีระดับความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรมากที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพุธหมุนรอบตัวเองในทิศทางเดียว กับการเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ คือ จากทิศตะวันตกไป ทิศตะวันออก หมุนรอบตัวเองรอบละ 58.6461 วัน เมื่อพิจารณาจากการหมุนรอบตัวเอง และการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ จะพบว่าระยะเวลากลางวัน ถึงกลางคืนบนดาวพุธยาวนาน 176 วัน ซึ่งยาวนานที่สุดในระบบสุริยะ
ดาวพุธ มีชื่อภาษาละตินว่า เมอร์คิวรี Mercury เมอร์คิวรี Mercury มาจากคำเต็ม Mercurius คือ เทพผู้สื่อสารตามคติศาสนาโรมัน เทียบเท่ากับเฮอร์มีสในศาสนากรีกโบราณ และเทพแห่งการค้าขายและผลกำไร สัญลักษณ์แทนดาวพุธ คือ ☿ เกี่ยวกับคำภาษาละตินว่า “merx” ที่เป็นรากของคำว่า merchant (พ่อค้า) หรือ commerce(การค้า)
ดวงศุกร์ Venus
ดาวศุกร์ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Venus เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 เมื่อมองจากโลกในตอนกลางคืน
ดาวศุกร์จะสว่างเป็นอันดับสองรองจากดวงจันทร์ ถ้าเห็นในตอนเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า “ดาวประกายพรึก” ถ้าเห็นในตอนหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า “ดาวประจำเมือง”
ดาวศุกร์โคจรรอบดวงอาทิตย์และหมุนรอบตัวเองช้ามาก โดยโคจรรอบดวงอาทิตย์หนึ่งรอบใช้เวลา 224.7 วันของโลก และหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 243 วันของโลกช้าที่สุดในระบบสุริยะ
นอกจากนี้ ดวงอาทิตย์บนดาวศุกร์จะขึ้นทิศตรงกันข้ามกับโลก คือ ขึ้นทางทิศตะวันตกและตกทางทิศตะวันออก ดาวศุกร์และดาวพุธไม่มีบริวารธรรมชาติเช่นเดียวกัน
โลก Earth

โลก ภาษาอังกฤษ คือ Earth ดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ โลกมีอายุประมาณ 4,500 ล้านปีจากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่น ดาวโลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของดาวโลก
โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่างเฉลี่ยประมาณ 150 ล้านกิโลเมตรในทุก ๆ 365.2564 วัน ความเร็วของโลกในวงโคจรโดยเฉลี่ยประมาณ 29.8 กิโลเมตรต่อวินาที โลกหมุนรอบตัวเองตามแกนครบหนึ่งรอบใช้เวลาเฉลี่ยราว 24 ชั่วโมง
แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงของมหาสมุทร
ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีทะเลสาบ แม่น้ำและแหล่งน้ำอื่นจำนวนมาก
ดวงจันทร์ Moon
ดวงจันทร์ ชื่อภาษาอังกฤษ Moon สัญลักษณ์ดวงจันทร์คือ ☾ เป็นดาวบริวารที่โคจรรอบโลกของเรา และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร
เส้นผ่านศูนย์กลางของดวงจันทร์มีค่าประมาณ 3,474 กิโลเมตร หรือประมาณ1/4ของโลก มวลรวมของดวงจันทร์คิดเป็นประมาณ 2% ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17% ของโลก
คาบไซโนดิก (synodic period) คือระยะเวลาที่ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง ๆ ใช้ในการโคจรจนมาอยู่ตำแหน่งเดิม เมื่อเทียบกับมุมมองจากดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่ง ระหว่างโลก-ดวงจันทร์-ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดเป็นเฟสของดวงจันทร์ 29.5 วัน
จันทรุปราคา เกิดจากการที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ เรียงตัวในแนวเดียวกันตามลำดับ ทำให้เงาของโลก บดบังแสงอาทิตย์ที่จะส่องไปยังดวงจันทร์ ทำให้ดวงจันทร์ค่อยๆหายไปทั้งหมดเรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง หรือหายไปบางส่วนเรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน ก่อนจะกลับมาปรากฏใหม่อีกครั้ง
ดาวอังคาร Mars

ดาวอังคาร ชื่อภาษาอังกฤษ Mars ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมันเป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองรองจากดาวพุธในระบบสุริยะ
ดาวอังคารมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณครึ่งหนึ่งของโลก มักได้รับขนานนามว่า “ดาวแดง” เพราะมีออกไซด์ของเหล็กบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดง และเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง
ดาวอังคารห่างจากดวงอาทิตย์ด้วยระยะทางเฉลี่ย 230 ล้านกิโลเมตรโดยประมาณ และโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็น 687 วันของโลก ดาวอังคารหมุนรอบตัวเองเท่ากับ 24 ชั่วโมง 39 นาที 35.244 วินาที หนึ่งปีของดาวอังคารเท่ากับ 1.8809 ปีของโลก
ดาวอังคารมีความเอียงของแกนเท่ากับ 25.19 องศา เป็นผลให้ดาวอังคารมีฤดูกาลคล้ายโลก
ดาวพฤหัสบดี Jupiter
ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5 ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ดาวพฤหัสบดีหนักว่าโลก 318 เท่า เส้นผ่านศูนย์กลางยาวกว่าโลก 11 เท่า และมีปริมาตรคิดเป็น 1,300 เท่าของโลก
ดาวพฤหัสบดี ภาษาอังกฤษ คือ Jupiter มาจากเทพเจ้าโรมัน สัญลักษณ์แทนดาวพฤหัสบดี คือ ♃ เป็นสายฟ้าของเทพเจ้าซุส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ดาวยักษ์
ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและหมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดในระบบสุริยะ การหมุนเร็วทำให้มีรูปร่างแป้น มีชั้นเมฆห่อหุ้มดาวพฤหัสบดี จุดแดงใหญ่ บนดาวพฤหัสบดีเป็นพายุหมุนที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก แล้วเป็นจุดเด่นของดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์ Saturn

ดาวเสาร์ Saturn เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 นับจากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจากดาวพฤหัสบดี
ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าประมาณเก้าเท่าของโลก มีมวลมากกว่าโลกถึง 95 เท่า แต่มีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก
ดาวเสาร์ ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Saturn ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄)แทนเคียวของเทพเจ้า
ดาวยูเรนัส Uranus
ดาวยูเรนัส Uranus เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 7 นับจากดวงอาทิตย์ และเป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดยักษ์ในระบบสุริยะ ดาวยูเรนัสมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 50,724 กิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับสามรองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์
ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแกนที่เอียงมากถึง 97.77 องศา ในขณะที่แกนโลกเอียง 23.5 องศา และดาวอังคารก็มีแกนเอียงใกล้เคียงกับโลกคือ 24
องศาดาวยูเรนัสประกอบด้วยไฮโดรเจน 83%, ฮีเลียม 15% และมีเทน 2% ดาวยูเรนัสมีสีฟ้าเนื่องจากแก๊สมีเทนดูดกลืนแสงสีแดงและสะท้อนแสงสีน้ำเงินออกมา
ดาวยูเรนัสหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 17 ชั่วโมง 14 นาที และโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 84 ปี
อ้างอิง